ยุทธศาสตร์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงาน กศน. (2)


ตอนที่ 27   ยุทธศาสตร์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการก้าวสู่ประชาคม
               อาเซียน ของสำนักงาน กศน. (2)


ยุทธศาสตร์ที่ 3
  การจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้เป็นสากลเพื่อรองรับการเคลื่อย้ายข้ามพรมแดน
มาตรการ/แนวทาง
1.      ส่งเสริมการเปิดเสรีทางการศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
2.     พัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพและเป็นสากล เพื่อตอบสนองสภาพเศรษฐกิจและความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน
3.      พัฒนาระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อรองรับผู้เรียนประชาคมอาเซียน
4.      พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบสู่มาตรฐานการศึกษาอาเซียน
5.      พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายให้มีทักษะที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคม
อาเซียน เช่น ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น
แผนงาน/โครงการ
1.    แผนส่งเสริมการเปิดเสรีทางการศึกษา ประกอบด้วยโครงการต่างๆ เช่น
           โครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในต่างประเทศ
           โครงการจัดการศึกษาทางไกล หลักสูตรภาษาอังกฤษ
            ฯลฯ
2.    แผนพัฒนาการศึกษาต่อเนื่องภาคภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยโครงการต่างๆ เช่น
            โครงการฝึกอบรมเกษตรธรรมชาติสำหรับกลุ่มประเทศ CLMV (Cambodia Laos Myanmar Vietnam)
โครงการฝึกอบรม หลักสูตร CLC Planning and  Management : International Perspectives แก่บุคลากร กศน. จากต่างประเทศ
โครงการฝึกอบรม หลักสูตร Literacy Education for Adults  แก่บุคลากร กศน. จากต่างประเทศ
ฯลฯ
3.    แผนพัฒนาระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์การศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบสำหรับผู้เรียนในประชาคมอาเซียนประกอบด้วยโครงการต่างๆ เช่น
            โครงการเทียบโอนอิสลามศึกษา
            โครงการเทียบทักษะภาษา
            โครงการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาษาเพื่อรองรับการสอบเทียบทักษะภาษา
            โครงการเทียบโอนประสบการณ์อาชีพ
            ฯลฯ
4.    แผนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษานอกระบบสู่อาเซียน ประกอบด้วยโครงการต่างๆ เช่น
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการศึกษานอกระบบให้สอดรับกับเกณฑ์การศึกษาของอาเซียน
โครงการศึกษานอกระบบ หลักสูตรภาษาอังกฤษ
            ฯลฯ
ยุทธศาสตร์ที่ 4
   การพัฒนาระบบบริหารจัดการและกลไกที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตลอดชีวิต
มาตรการ/แนวทาง
1.      สรรหาและพัฒนาบุคลากรทุกระดับเพื่อรองรับการทำงานกับประชาคมอาเซียน
2.      ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งหน่วยงาน (ASEAN Unit) ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนงานอาเซียน ทั้งในส่วนกลางภูมิภาค และต่างประเทศ
3.      พัฒนาและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อการบริหารจัดการและงานวิชาการ
4.      พัฒนาระบบนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และการรายงานผลการดำเนินงานอาเซียน
5.      ส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือภาคีเครือข่ายในประชาคมอาเซียน โดยมีบันทึกข้อตกลงร่วมกัน
6.      พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนระบบการบริหารจัดการที่ดีเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
7.      ส่งเสริมการระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้เพียงพอ
8.      ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
แผนงาน/โครงการ
1.    แผนพัฒนาบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วยโครงการต่างๆ เช่น
                        โครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน
                        โครงการพัฒนาทักษา ICT เพื่อการใช้งานการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
                        โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในกลุ่มประชาคม  
                        อาเซียน
                        ฯลฯ
2.    แผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วยโครงการต่างๆ เช่น
            โครงการจัดทำเว็บไซต์อาเซียน
            โครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ICT รองรับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม                                        อัธยาศัยของกลุ่มประชาคมอาเซียน
            ฯลฯ
3.    แผนพัฒนากลไกและระบบขับเคลื่อนงานอาเซียน ประกอบด้วยโครงการต่างๆ เช่น
            โครงการจัดตั้งหน่วยงานและองค์กรดำเนินงานอาเซียนของ กศน.
            โครงการพัฒนาระบบติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา
                        ตามอัธยาศัยตามยุทธศาสตร์
            ฯลฯ
4.    แผนพัฒนาความร่วมมือภาคีเครือข่ายประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยโครงการต่างๆ เช่น
            โครงการความร่วมมือการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
           โครงการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนชุมชน/ศูนย์การเรียนรู้ในประชาคมอาเซียน
            ฯลฯ

                                                           




บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน กศน. ตามยุทธศาสตร์ฯ
(โดยมีแผนบูรณาการร่วมกันทั้งส่วนกลางและภูมิภาค)

หน่วยงาน/ภาคีเครือข่าย
บทบาทหน้าที่
1.    สำนักงาน กศน.
1.    กำหนดนโยบาย และจุดเน้นการดำเนินงาน กศน. เพื่อประชาคมอาเซียน

2.    กลุ่มแผนงาน
1.    จัดทำยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านอาเซียน
2.    จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศด้านอาเซียน
3.    ประสานงานภาคีเครือข่ายต่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน
4.    กำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานด้านอาเซียน

3.    กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
1.    สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ภาษาอาเซียน กศน.อำเภอ/เขต ครอบคลุมทั้งประเทศ
2.    พัฒนาหลักสูตรอาเซียนศึกษา หลักสูตรภาษาอื่นๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน
3.    ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน
4.    พัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านอาเซียน
5.    วิจัยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตกับอาเซียน

4.    กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ
1.    จัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมอาเซียนใน กศน. ตำบล และศูนย์การเรียนชุมชน
2.    จัดอบรมครู กศน.ตำบล และครู ศรช.
3.    พัฒนาความร่วมมือภาคีเครือข่ายในประเทศในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมอาเซียน

5.    กลุ่มการเจ้าหน้าที่
1.    จัดอบรมภาษาอังกฤษให้แก่บุคลากรในทุกระดับ
2.    พัฒนาบุคลากรทุกระดับ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

หน่วยงาน/ภาคีเครือข่าย
บทบาทหน้าที่
6.    หน่วยศึกษานิเทศก์
1.    นิเทศ การดำเนินงานด้านอาเซียน

7.    ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
1.    ผลิตและเผยแพร่สื่อการสอนภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นๆ

8.    ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
1.     จัดกิจกรรมและเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกลุ่มประเทศอาเซียน

9.    สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
1.    ส่งเสริมการจัดกิจกรรมมุมอาเซียนในห้องสมุดประชาชนจังหวัด ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารีทั่วประเทศ
2.    อบรมบรรณารักษ์

10.     สถาบันการศึกษาทางไกล
1.    จัดกิจกรรมการเรียนภาษาต่างประเทศผ่านระบบการศึกษาทางไกล

11.     ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
1.    พัฒนาระบบเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตแก่ประชาชนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
2.    สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนฯ เพื่อจัดการศึกษาตลอดชีวิตแก่คนไทยในประเทศสมาชิกอาเซียน

12.     สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร
1.    ส่งเสริม (พัฒนา) ให้ผู้บริหาร กศน. มีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีด้านอาเซียน
2.    จัดการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาต่อเนื่องให้แก่บุคลากร กศน. ทั้งในและต่างประเทศ
3.    ส่งเสริมการจัดตั้ง SMART CLC สู่ประชาคมอาเซียนในรูปแบบ Buffer CLC และ Sister CLC

13.     สถาบัน กศน. ภาค
1.    จัดการศึกษาต่อเนื่อง วิธีเรียนทางไกล และการศึกษาตามอัธยาศัย ด้านอาเซียนศึกษา เช่น หลักสูตรอาเซียนศึกษา หลักสูตรภาษาอังกฤษ เป็นต้น
2.    พัฒนาบุคลากรในภาคที่รับผิดชอบ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และ
หน่วยงาน/ภาคีเครือข่าย
บทบาทหน้าที่

3.    ทัศนคติที่ดีด้านอาเซียน
4.    สนับสนุนการจัดการศึกษาด้านอาเซียนศึกษาแก่หน่วยงาน สถานศึกษา กศน. ในภาค
5.    ดำเนินการวิจัย เพื่อการจัดกิจกรรม กศน. ด้านอาเซียนศึกษา

14.     กลุ่มศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน
1.     จัดการศึกษาให้แก่กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป และประชาชนในพื้นที่ชายแดน อาทิ ทักษะอาชีพ ภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียนที่สอดคล้องกับพื้นที่ ความต้องการจำเป็น เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

15.     สำนักงาน กศน.จังหวัด/
กศน.อำเภอ/กศน.ตำบล/
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน.อื่นๆ
1.     จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา ศูนย์ภาษาอังกฤษและศูนย์ภาษาอาเซียน โดยมีการจัดทำหลักสูตร และจัดการศึกษา หลักสูตรอาเซียนศึกษา ภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียนอื่นๆ และหลักสูตรท้องถิ่นภาษาของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการสื่อสาร
2.     จัดมุมอาเซียนในสถานศึกษา
3.     จัดตั้งและพัฒนา กศน.ตำบล/ศูนย์การเรียนชุมชน ให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้มีศักยภาพในการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียน
4.     จัดนิทรรศการ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณี สังคม  เศรษฐกิจ การเมือง การท่องเที่ยว ฯลฯ ในกลุ่มอาเซียน
5.     แสวงหาความร่วมมือภาคีเครือข่ายในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีบันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาตลอดชีวิต


แหล่งอ้างอิง       หนังสือยุทธศาสตร์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของ สำนักงาน กศน. จัดพิมพ์และเผยแพร่ โดย กลุ่มแผนงาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่พิมพ์ 2555


ความคิดเห็น